วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559








บานชื่น (Zinnia) จัดเป็นไม้ดอกประดับที่นิยมปลูกมากชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะในแถบประเทศอเมริกา เนื่องจากดอกมีสีสันสวยงาม มีหลากหลายสี ปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลมาก เติบโต และให้ดอกเร็ว
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zinnia elegans
• วงศ์ : Compositae
• ชื่อสามัญ :
– Zinnia
– Youth
– Old Age
บานชื่น เป็นไม้พื้นเมืองของเม็กซิโก พบได้บริเวณเชิงเขาในเม็กซิโก และอเมริกากลาง มีดอกขนาดเล็ก กลีบดอกชั้นเดียว สีม่วงซีด ชาวเม็กซิกันชอบเด็ดมาติดหมวก และเป็นไม้ดอกที่นิยมปลูกมาก 1 ใน 3 อันดับแรกในอเมริกา ได้แก่ ดาวเรือง พิทูเนีย และบานชื่น
ปัจจุบัน บานชื่นถูกพัฒนาสายพันธุ์ให้มีดอกทุกสี ยกเว้นสีฟ้า ขนาดดอกมีตั้งแต่เท่ากระดุมเสื้อจนถึงเท่าจานรองถ้วยนํ้าชา มีรูปร่างดอกแตกต่างกันตามสายพันธุ์
zinnia
บานชื่นพันธุ์ดั้งเดิมถูกตั้ง ชื่อว่า Youth and Old Age เนื่องจากมีการออกดอกไม่พร้อมกัน ดอกที่บานก่อนจะเหี่ยวไป ดอกที่บานใหม่จะบานปนกับดอกเหี่ยว ส่วนพันธุ์ในปัจจุบันมีการบานของดอกพร้อมกัน
ประวัติบานชื่น
บานชื่นมีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศทางตะวันออกเฉียงใต้ของอเมริกากลางถึง อเมริกาใต้ คำว่า Zinnia เป็นชื่อเรียกของบานชื่นที่ถูกตั้งในศตวรรษที่ 18 เพื่อเป็นเกียรติแก่ ดร. โจฮานน์ กอตต์ฟรีด ซินน์ (Dr.Johann Gottfried Zinn) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ที่เป็นคนแรกที่นำเมล็ดบานชื่นจากอเมริกาไปปลูกยุโรป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
1. ลำต้น
บานชื่นจัดเป็นไม้ดอกฤดูเดียว ลำต้นสูง 18-35 ซม. ลำต้นมีขนแข็งสั้นปกคลุม ลำต้นมีสีเขียว มีลำต้นเดียว ไม่แตกกิ่ง ไม่มีแก่น และกลวง เปราะหักง่าย
2. ใบ
ใบเป็นแบบโอเวท (Ovate) ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบติดกับลำ ต้น เส้นใบเป็นแบบปาล์เมทลี่(Palmately) แยกออกจากฐานของใบ มี 5 แฉก การจัดเรียงของใบเป็นแบบตรงข้าม ดอกเป็นแบบเฮท(Head) มีหลายสี
zinniz1

3. ดอกบานชื่น
ดอกบานชื่น ออกเป็นช่อกระจุก (ดอกอยู่ตรงกลางกลีบดอก) หรืออาจเรียกตามลักษณะที่มองเห็นเป็นดอกเดียว ดอกมี 2 แบบ คือ
– ดอกซ้อน ประกอบด้วยกลีบดอกหลายกลีบ เรียงซ้อนกันแน่นตามความสูง แต่ละกลีบมีขนาดไม่เท่ากัน กลีบด้านล่างมีขนาดใหญ่ ขนานกับพื้น กลีบด้านบนมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ และค่อยๆตั้งฉากกับพื้น
zinnia2
– ดอกลา ประกอบด้วยกลีบดอกเรียงซ้อนกันเพียง 1-3 ชั้น แต่ละกลีบมีขนาดเท่ากัน และทิ้งตั้งฉากกับเกสรดอกขนานกับพื้น
zinnia4


ดอกจะออกได้ประมาณ 2-3 เดือน หลังการปลูก
4. เมล็ด
เมล็ดมีสีดำขนาดเล็ก เรียวยาว ประมาณ 2 ซม. ประกอบด้วยก้านเมล็ดสีน้ำตาล ยาวประมาณ 1 ซม. และตัวเมล็ด ยาวประมาณ 1 ซม. ดอกใหญ่มีน้ำหนักเมล็ดหนึ่งกรัม จะมีเมล็ดประมาณ 80-120 เมล็ด และส่วนดอกเล็กจะมีเมล็ดประมาณ 200 ในน้ำหนักที่เท่ากัน
zinnia3


ประโยชน์ของบานชื่น
• ใช้ปลูกเป็นไม้ดอกประดับตามหน้าบ้าน ปลูกจัดสวน และปลูกเป็นไม้กระถาง
• ใช้ปลูกเป็นไม้มงคลที่เชื่อว่าจะนำความร่มเย็นเป็นสุขมาให้แก่ครอบครัว เนื่องจากคำว่า บานชื่น เป็นคำมงคลที่แสดงถึงความเบิกบานมีความสุข
• ดอกบานชื่น นำมาตากแห้ง และบดเป็นผงสำหรับชงเป็นชาดื่ม
• ดอกบานชื่น นำมาสกัดสีย้อมผ้า
• ดอกบานชื่น นำมาบดเป็นผงสำหรับเป็นสีผสมอาหาร
• ดอกบานชื่น นำมาบดละลายน้ำใช้เป็นสีระบายภาพ
การปลูกบานชื่น
บานชื่นสามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่โล่งแจ้ง เป็นพืชที่ชอบแสง สามารถปลูกได้ตลอดฤดู และทนต่อทุกสภาพได้ดี แต่ทั่วไปชอบดินร่วนปนทราย ดินมีอินทรีย์วัตถุสูง ดินมีความชื้น ไม่ชอบสภาพดินแฉะ มีน้ำขัง
การปลูกบานชื่น
การ ปลูกบานชื่นมีทั้งการปลูกในแปลง และการปลูกในกระถาง ซึ่งจะใช้วิธีการปลูกด้วยเมล็ดเท่านั้น แต่โดยทั่วไปมักนิยมปลูกในกระถาง เนื่องจาก เป็นไม้ดอกที่โตเร็ว ลำต้นไม่ใหญ่สูง มีอายุสั้น ให้ดอกใหญ่ สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย แต่ก็พบปลูกในแปลงบ้างในลักษณะเพื่อประดับในโอกาสต่างๆ
การปลูกบานชื่นในกระถาง
การเตรียมดิน
นิยมเตรียมดินด้วยการผสมดินกับขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วนดินกับขี้เถ้าที่ 1:1 หรือ 1:2 เนื่องจากจะให้น้ำหนักเบา และกกระถางที่ใช้จะเป็นกระถางพลาสติกขนาดไม่เกิน 10 นิ้ว ขึ้นอยู่กับปริมาณต้นที่ต้องการ
การปลูก
การปลูกจะใช้วิธีการหยอดเมล็ดลงในกระถาง หยอดเมล็ดลึก 2-3 ซม. กระถางละ 4-10 เมล็ด ขึ้นอยู่กับขนาดกระถาง หลังจากนั้น รดน้ำทุกวัน วันละ 1 ครั้ง จนต้นเติบโต และออกดอก ซึ่งระยะหลังอาจรดน้ำเีพียง 2 วัน/ครั้ง




วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

แก้ว

                                             ต้นแก้ว

แก้ว ชื่อสามัญ Andaman satinwood, Chanese box tree, Cosmetic bark tree, Orange jasmine, Orange jessamine, Satin wood[1],[2],[3],[4],[5]
แก้ว ชื่อวิทยาศาสตร์ Murraya paniculata (L.) Jack  (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Murraya exotica L.) จัดอยู่ในวงศ์ส้ม (RUTACEAE)[1],[2],[3],[4],[5]
สมุนไพรแก้ว มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า จ๊าพริก (ลำปาง), แก้วลาย (สระบุรี), แก้วขี้ไก่ (ยะลา), แก้วพริก ตะไหลแก้ว (ภาคเหนือ), แก้วขาว (ภาคกลาง), กะมูนิง (มลายู-ปัตตานี), จิ๋วหลี่เซียง (จีนกลาง) เป็นต้น[1],[2],[3],[4]

ลักษณะของต้นแก้ว

  • ต้นแก้ว เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศจีน และในออสเตรเลีย[7] ในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคในป่าดิบแล้งจากที่ราบสูงจนถึงที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 400 เมตร[8] โดยจัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร ต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลมแน่นทึบ เปลือกลำต้นเป็นสีเทาแตกเป็นร่อง ๆ เนื้อไม้สีขาวนวล เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดดเต็มวัน-รำไร และความชื้นปานกลาง-ต่ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอน[1],[2],[3],[4],[5]
ภาพต้นแก้ว
ต้นแก้ว
  • ใบแก้ว ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายใบคี่ ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 5-9 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายและโคนใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่นหรือหยักมนเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-7 เซนติเมตร แผ่นใบคล้ายแผ่นหนังบาง ๆ หลังใบเป็นสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบมีสีอ่อนกว่า ใบมีต่อมน้ำมัน เมื่อขยี้จะมีกลิ่นฉุนคล้ายผิวส้มเป็นน้ำมันติดมือ[1],[2],[3],[5]
ใบแก้ว
  • ดอกแก้ว ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ ตามซอกใบ ดอกย่อยเป็นสีขาวและมีกลิ่นหอมจัด กลีบดอกมี 5 กลีบ หลุดร่วงได้ง่าย กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปกลมรี ยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 7-9 มิลลิเมตร โคนกลีบดอกติดกัน ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 10 อัน ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี[1],[2],[3]
ดอกแก้ว
ภาพแก้ว
รูปดอกแก้ว
  • ผลแก้ว ลักษณะของผลเป็นกลมรีหรือเป็นรูปไข่ ปลายสอบเล็กน้อย ผลมีขนาดกว้างประมาณ 5-8 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีแดงอมส้ม ผิวผลมีต่อมน้ำมันเห็นได้ชัดเจน ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 1-2 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะรีหรือเป็นรูปไข่ ปลายสอบ มีขนหนาและเหนียวหุ้มโดยรอบเมล็ด สีขาวขุ่น เมล็ดมีขนาดกว้างประมาณ 4-6 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 6-9 มิลลิเมตร[1],[2],[3],[4]
ผลแก้ว

สรรพคุณของต้นแก้ว

  1. ใบมีรสร้อนเผ็ดและขม มีสรรพคุณช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ใบ)[3],[5]
  2. ช่วยคลายการอุดตันของเส้นเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดลมเป็นไปได้ดีขึ้น (ราก)[3]
  3. ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ (ดอก,ใบ)[4]
  4. ช่วยแก้อาการไอ (ดอก,ใบ)[4]
  5. ราก ก้าน และใบสดสามารถนำมาใช้เป็นยาชาระงับอาการปวดได้ จึงมีการนำมาใช้เป็นยาแก้อาการปวดฟันและปวดกระเพาะ (ราก,ก้าน,ใบสด)[3],[4] บ้างก็ว่าก้านและใบสดมีรสเผ็ดร้อนขม นำมาต้มก็ใช้เป็นยาอมบ้วนปากแก้อาการปวดฟันได้เช่นกัน (ก้านใบ,ใบสด)[1],[2],[4]
  6. รากใช้เป็นยาแก้ฝีฝักบัวที่เต้านม (ราก)[3]
  7. รากใช้เป็นยาช่วยขับลมชื้นในร่างกาย แต่ต้องนำไปใช้ร่วมกับตำราแพทย์แผนไทยหรือแพทย์แผนจีน (ราก)[3]
  8. ใบช่วยแก้ท้องเสีย (ใบ)[4]
  9. ช่วยแก้บิด (ใบ)[4]
  10. ใบมีสรรพคุณช่วยขับลม แก้อาการจุกเสียดแน่นเฟ้อ (ใบ)[3],[5]
  11. ช่วยในการย่อยอาหาร (ดอก,ใบ)[4]
  12. ใช้เป็นยาแก้ปวดกระเพาะ ด้วยการใช้ใบแก้วแห้ง, กานพลู, เจตพังคี, และเปลือกอบเชย นำมาบดเป็นผงใช้ชงกับน้ำร้อนเป็นยาประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้ง หรือจะนำผงที่ได้มาบดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอนขนาดเทาเม็ดถั่วเหลืองก็ได้ โดยใช้รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง (ใบแห้ง)[3]
  13. ใบใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด (ใบ)[4]
  14. ใบใช้เป็นยาขับประจำเดือนหรือระดูของสตรี (ใบ)[3],[5] หรือจะใช้รากแห้งประมาณ 10-15 กรัม (สดให้ใช้ 30-60 กรัม) นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว แล้วเคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทานหลังอาหาร วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น (รากแห้ง)[4]
  15. รากและต้นแห้ง นำมาหั่นและต้มเคี่ยวแล้วกรองเอาแต่น้ำมาใช้ ช่วยเร่งการคลอดบุตรของสตรี โดยใช้ผ้าพันแผลจุ่มกับน้ำยาสอดเข้าไปที่ปากมดลูก (ราก,ต้นแห้ง)[1],[2]
  16. รากใช้เป็นยาแก้ฝีในมดลูก (ราก)[3]
  17. รากสดใช้เป็นยาพอกบริเวณที่เป็นแผล (รากสด)[1],[2] ใช้เป็นยาแก้แผลคัน (ราก)[3]
  18. ใช้เป็นยาแก้ผดผื่นคันที่เกิดจากความชื้นและที่เกิดจากแมลงกัดต่อย (ราก,ก้าน,ใบสด)[1],[3],[4] แก้อาการคันที่ผิวหนัง (ราก)[3]
  19. แก้แมลงสัตว์กัดต่อย ด้วยการใช้รากและใบสดนำมาต้มใช้ชะล้างบริเวณที่ถูกแมลงกัดต่อย (ราก,ใบสด)[1] แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย (ราก)[3]
  20. รากสดมีรสเผ็ดสุขุม นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้แผลฟกช้ำได้ (รากสด)[1],[2] แก้ฟกช้ำดำเขียว (ราก)[3] แก้แผลเจ็บปวดที่เกิดจากการกระทบกระแทก (ใบ)[4]
  21. ช่วยแก้ฟกช้ำ ด้วยการใช้ใบแก้วสด, ขมิ้น, ขิง, และไพร นำมาตำให้ละเอียดและผสมกับเหล้า แล้วนำไปคั่วให้ร้อน นำผ้าสะอาดห่อ ใช้เป็นยาประคบบริเวณที่มีอาการฟกช้ำ ประมาณ 20-30 นาที โดยให้ทำวันละ 2-3 ครั้ง (ใบสด)[3]
  22. รากใช้แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย บรรเทาอาการปวดบวม แต่ต้องนำไปใช้ร่วมกับตำราแพทย์แผนไทยหรือแพทย์แผนจีน (ราก)[3] บ้างว่าใช้รากแห้งนำมาหั่นเป็นฝอยใช้ตุ๋นกับหางหมูเจือกับสุราใช้กินเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อยเอว (รากแห้ง)[1],[2],[4]
  23. ก้านและใบสดเมื่อนำมาบดแช่กับแอลกอฮอล์ 24 ชั่วโมง สามารถนำมาใช้ทาหรือฉีดเป็นยาระงับอาการปวดได้ (ก้านใบ,ใบสด)[1],[2]
  24. ดอกและใบใช้เป็นยาแก้ไขข้ออักเสบ (ดอก,ใบ)[4]



วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


"ดอกกุหลาบสีแดง"Red Rose "กุหลาบ" นั้นมาจากคำว่า "คุล" ที่ในภาษาเปอร์เซียแปลว่า "สีแดง ดอกไม้ หรือดอกกุหลาบ" โดยในภาษาฮินดีก็มีคำว่า "คุล" แปลว่า "ดอกไม้" และคำว่า "คุลาพ" ก็หมายถึงกุหลาบอย่างที่ไทยเราเรียกกัน แต่ออกเสียงเป็น "กุหลาบ" ส่วนคำว่า "Rose" ในภาษาอังกฤษนั้นมาจากคำว่า "Rhodon" ที่แปลว่ากุหลาบในภาษากรีกดอกกุหลาบสีแดง บ่งบอกถึงการตกหลุมรักหรือแอบปลื้มใครซักคน เป็นสื่อแทนใจเพื่อจะบอกให้รู้ว่ามีคนกำลัง แอบปลื้มอยู่ มีความรักที่สุดแสน จะลึกซึ้ง  มั่นคง เรียกได้ว่าความรักนั้น ไม่มีวันจืดจางไป จากหัวใจ  กุหลาบเป็นดอกไม้ของกามเทพ คิวปิด และอีรอส เป็นสิ่งนำโชคนำความรักมาให้แก่หญิงหรือชายที่ได้รับrose2.jpg"ดอกเบญจมาศ หรือ ดอกมัม"Chrysanthemum ดอกเบญจมาศ คือ สัญลักษณ์ ของฤดูใบไม้ร่วง ในคติความเชื่อโบราณของจีน ดอกเบญจมาศคือความเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของความมีอายุยืนและความงามนิรันดร์ ch2.jpgดอกเบญจมาศ (Chrysanthemum) - ดอกเบญจมาศหรือดอกมัม เป็นดอกไม้แห่งความรื่นเริงและความบริสุทธิ์ใจ ผู้ที่ชอบให้ดอกไม้นี้ แสดงว่าเป็นคนมองโลกในแง่ดีเสมอ หากอยากแสดงถึงความรื่นเริงชื่นบาน ให้ใช้ดอกไม้นี้มอบแก่ผู้รับดอกเบญจมาศสีแดง เป็นดอกไม้แห่งความรัก นิยมมอบดอกเบญจมาศสีแดง เพื่อแสดงถึงความรักใคร่ชอบพอดอกเบญจมาศสีเหลือง เป็นดอกไม้แห่งความโชคดี รักนิดหน่อย นิยมมอบดอกเบญจมาศเหลืองแก่ผู้หลักผู้ใหญ่หรือคนรู้จักกันเมื่อไปเยี่ยมเยียนหลังจากไม่ได้พบกันมานาน หรือเพิ่งไปมาหาสู่บ้านเขาเป็นคราวแรก (แสดงถึงรักที่บางเบา อ่อนไหวง่าย)ดอกเบญจมาศสีขาว  ถือเป็นดอกไม้สูงศักดิ์ และทรงเกียรติ เป็นสัญลักษณ์แห่งความซื่อสัตย์ สามารถมอบดอกเบญจมาศสีขาวให้แก่ผู้ใดก็ได้ เพื่อแสดงความซื่อสัตย์ภักดี ไม่จำกัดว่าผู้รับต้องเป็นเพศตรงข้ามเท่านั้น